พรรษา คือ ช่วงระยะเวลา 3 เดือนในฤดูฝนที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องปฏิบัติธรรมอยู่วัดใดวัดหนึ่งโดยตลอดจะไปค้างคืนที่วัดอื่นไม่ได้ ข้อห้ามที่ให้พระอยู่วัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือนนี้ เพราะฤดูฝนเป็นฤดูเพาะปลูก ข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านกำลังเขียวขจี ถ้าพระออกเดินทางในฤดูนี้จะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านเสียหายได้ พระพุทธเจ้าจึงได้บัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์หยุดเข้าพรรษาหรือหยุดพักฝน 3 เดือนไม่ให้จาริกเดินทางไปค้างคืนที่อื่นๆ (เข้าพรรษาแปลว่าพักฝน) การเข้าพรรษาจึงมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลหรือตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า
วันเข้าพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติหรืออยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมแล้วนับไปอีก 3 เดือนก็จะเป็นวันออกพรรษา ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรืออยู่ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เมื่อพระต้องหยุดพักฝนหรือหยุดเข้าพรรษาทำให้พระมีเวลาศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะการอ่านหนังสือ เวลาอ่านหนังสือให้เข้าใจและจดจำได้ดีที่สุดคือเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่เงียบสงบทำสมาธิได้ง่าย ในสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าเวลาพระจะอ่านหนังสือจึงจุดเทียน เมื่อชาวบ้านทราบจึงทำเทียนไปถวายพระ โดยเฉพาะการถวายในวันเข้าพรรษา ซึ่งถือว่าได้บุญกุศลมากยิ่งนัก นั่นคือจะทำให้ชีวิตของผู้ถวายมีความสุขสบาย สว่างไสว ไม่มืดมน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ เฉลียวฉลาดนั่นเอง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Bright การถวายเทียนแด่พระในวันเข้าพรรษาจึงเป็นประเพณีของชาวพุทธมาแต่โบราณกาลนับเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันชาวบ้านสมัยใหม่จะนิยมถวายหลอดไฟฟ้าแทน เพราะมีความสว่างมากกว่าเทียน ใช้งานง่าย สะดวก และได้บุญกุศลมากเช่นกัน
ชาวอุบลฯ ก็เหมือนกับชาวพุทธทั่วไป เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะนำเทียนไปถวายพระ ในสมัยก่อนยังไม่มีเทียนสำเร็จรูปขาย ชาวบ้านจะใช้ขี้ผึ้งซึ่งได้จากรังผึ้งมาต้มให้ละลายแล้วเอาฝ้ายที่จะทำเป็นไส้เทียนจุ่มลงไปในน้ำผึ้งที่ละลายนั้น ปล่อยให้เย็นพอที่จะเอามือคลึงให้ขี้ผึ้งโอบล้อมไส้เทียนให้เต็ม (วิธีการแบบนี้ชาวอุบลฯ เรียกว่า “ฟั่นเทียน”) จากนั้นนำมาตัดตามขนาดที่ต้องการ เสร็จเรียบร้อยก็จะเป็นเทียนที่พร้อมนำไปถวายพระได้
การนำเทียนไปถวายพระของชาวอุบลฯ ในสมัยก่อน ไม่ได้มีการแห่แหนหรือการประกวดประชันกันอย่างทุกวันนี้ เป็นแต่เพียงการถวายเทียนพร้อมกับเครื่องไทยธรรมไทยทานอื่นๆ รับศีลรับพรจากพระ
แล้วก็กลับบ้าน สาเหตุที่การถวายเทียนจะต้องมีการแห่แหนและมีการประกวดประชันอย่างทุกวันนี้ เล่ากันว่าเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นข้าหลวงใหญ่มาปกครองมณฑลลาวกาว ซึ่งมีที่ตั้งมณฑลอยู่ที่เมืองอุบลฯ ได้เห็นการบาดเจ็บล้มตายของชาวบ้านจากงานประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งมีทั้งบาดเจ็บล้มตายเพราะบั้งไฟระเบิดหรือตกใส่บ้านเรือน หรือบาดเจ็บล้มตายเพราะการทะเลาะวิวาทตีรันฟันแทงเพราะความเมามายในสุรา หรือบางครั้งเพราะการละเล่นโคลนตมที่สนุกสนานเกินเลย หรือการละเล่นตุ๊กตาไม้ในท่าทางร่วมเพศตามแบบฉบับของงานบุญบั้งไฟ เรื่องต่างๆ เหล่านี้พระองค์ท่านทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ดีไม่งาม จึงให้ยกเลิกการจัดงานบุญบั้งไฟและให้เปลี่ยนเป็นการแห่เทียนพรรษาแล้วนำไปถวายพระแทน
อย่างไรก็ตามทั้งสองแบบก็ยังเป็นแต่เพียงต้นเทียนอย่างเดียว ไม่มีองค์ประกอบอื่นมากมายนัก โดยเฉพาะฐานต้นเทียนก็เป็นฐานที่ทำขึ้นเพื่อไม่ให้ต้นเทียนล้มเท่านั้น คุ้มที่อยากชนะจึงต้องหาวิธีตกแต่งที่แตกต่างออกไปอีกเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้การตกแต่งฐานต้นเทียนให้แปลกแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะการตกแต่งให้เป็นรูปลอยตัว ของสัตว์ในวรรณคดีหรือเรื่องราวทางพุทธประวัติ ในอากัปกริยาต่างๆ ก็เกิดขึ้น เช่นเดิมคุ้มที่จัดทำแบบนี้ก็ชนะ และถ้าคุ้มอื่นทำตามคุ้มที่อยากชนะในปีต่อไปก็จะทำให้แปลกแตกต่างๆ หรือทำให้ใหญ่ ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ทางวรรณคดีหรือทางพุทธประวัติที่ครบสมบูรณ์ในต้นเทียนต้นเดียวหรือขบวนเดียว ผู้ชมดูแล้วเพลิดเพลิน ได้ความรู้ ได้อรรถรส อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยต้นเทียนและการแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ มีมานานนับร้อยปี จึงมีวิวัฒนาการมากมายหลายแบบหลายมิติดังที่กล่าวมา จากการแห่เทียนธรรมดาที่เรียบง่ายเป็นการแห่เทียนที่มีการร้องรำทำเพลงและการแสดงต่างๆ มากมาย จากการรวมกลุ่มร่วมมือร่วมแรงของชาวบ้านคุ้มต่างๆ ในราคาถูกเป็นการจัดทำของกลุ่มชาวบ้านกลุ่มพ่อค้าและข้าราชการต่างๆ ที่มีราคาแพง จากการแบกหามบรรทุกใส่เกวียนเป็นการบรรทุกใส่รถ จากรถคันเล็กเป็นรถคันใหญ่ จากรถคันใหญ่เป็นรถหลายคัน จากรถคันสั้นเป็นรถคันยาวจากรางวัลเพียงไม่กี่บาทก็เป็นรางวัลหลายแสนบาท จากการดำเนินงานตามลำพังของจังหวัดอุบลฯ ก็เป็นการดำเนินงานร่วมกันกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จากที่ไม่มีนักท่องเที่ยวก็มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ วิวัฒนาการมากมายหลายแบบหลายมิติเช่นนี้ ด้วยเพราะความอยากให้ต้นเทียนมีความแปลกแตกต่าง มีความสวยงาม มีความยิ่งใหญ่และชัยชนะ
ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งจากภาคราชการ เอกชน และชาวบ้านคุ้มต่างๆ ในวันนี้ เทียนและการแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ จึงนำมาซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียง ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้เมืองอุบลฯ จึงเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุบลฯ ยิ่งนัก
หมายเหตุ :
เทียนและการแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ ถึงแม้จะมีความยิ่งใหญ่ สวยงาม วิจิตร ตระการตา ทั้งขบวนแห่และต้นเทียน และมีกิจกรรมประกอบงานมากมาย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เริ่มจะซ้ำและจำเจในความรู้สึกของคนอุบลฯแล้ว ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาคนอุบลฯก็จะคิดหาวิธีการที่แปลกแตกต่างออกไปเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ตามมา หนึ่งในความแปลก แตกต่าง ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น คือ การแห่เทียนทางน้ำ ทั้งนี้เพราะอุบลฯ มีแม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายสำคัญและไหลผ่านตัวเมืองด้วย การแห่เทียนทางน้ำจะทำให้มีกิจกรรมและวิธีการต่างๆ มากมาย ทั้งทางขวนแห่และการจัดทำต้นเทียน อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำอีกด้วย (มีผู้เสนอให้แห่ทางน้ำหนึ่งวัน ทางบกหนึ่งวัน เริ่มขบวนแห่ที่หาดคูเดื่อสิ้นสุดที่หาดวัดใต้ ให้มีเรือแพ เรือพาย เรือแข่ง และเรืออื่นๆ เป็นเรือประกอบ มีเรือต้นเทียนเป็นเรือหลัก เรือต้นเทียนจะเป็นเรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ในน้ำเป็นเรือพอขึ้นบกวิ่งเป็นรถเข้าขบวนแห่ทางบกได้เลย มีการประกวดทั้งบนบกและในน้ำ เสร็จแล้วนำไปถวายวัดที่อยู่ฝั่งน้ำ เช่น วัดสุปัฎนาราม วัดหลวง วัดใต้ เป็นต้น)
ประโยชน์ : งานประเพณีแห่เทียนพรรษาแฝงไว้ด้วยกุศโลบายที่ต้องการเห็นความสามัคคีของคนในชุมชน การร่วมมือร่วมใจกัน การมีส่วนร่วมในสังคม วัยหนุ่มสาวมีโอกาสได้มาร่วมด้วยช่วยกัน เป็นลูกมือช่างในการตกแต่งต้นเทียน ร่วมกันอนุรักษศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างการฟ้อนรำที่เลียนแบบ ดัดแปลงท่วงท่ามาจากวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการรำเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระติบ เซิ้งแหย่ไข่ดอง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนรำ เช่น โปงลาง แคน ที่ได้คนรุ่นเก่าถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ มีการถ่ายทอดเนื้อร้อง จังหวะที่สนุกสนาน ครื่นเครง จนทำให้งานประเพณีแห่เทียนเป็นงานประจำปีที่หลายคนตั้งตารอ
ที่อยู่: ศาลา กลาง จังหวัด อุบลราชธานี ถ อุปราช เมืองอุบลราชธานี เมือง อุบลราชธานี 34000
V
V
V
V
V
V
V
สมาชิก
1.นางสาวเบญจภัทร คำกันหา ชั้น.ม.6/5
2.นางสาวนิตยา พิมพะนาม
3.นางสาววิชุดา ดำพะธิก
4.นางสาวสาริณี ทัดรอง
5.นางสาวชลธิชา ลือโฮ้ง
6.นางสาวธิดารัตน์ ทวีดี
7.นางสาวปนัดดา มิ่งมาลี
8.นางสาวรุ่งทิวา กุคำรักษ์
9.นางสาวภัศรา บุราเลข
อ้างอิง : http://www.ubonguide.org/book14/formcover14_1.html
ประเพณี.net/ประเพณีแห่เทียนพรรษา/
Queen Casino in Ontario
ตอบลบLocated in the heart of Ontario and on jeetwin the shores of the River Thames, Queen Casino Hotel is a stunning entertainment destination featuring over 60 luxurious hotel rooms Casino happyluke · Casino Rooms & Suites · クイーンカジノ Shows