วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง


           



ชื่อพิพิธภัณฑ์  :   แหล่งโบราณคดีวัดบ้านก้านเหลือง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ  :  องค์การบริหารส่วนตำบลขามใหญ่

ผู้รับผิดชอบหลัก  :  หลวงปู่สมนึก สุมะโน

ที่ตั้ง  :  แหล่งโบราณคดีวัดก้านเหลืองตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยเดินทางไปตามเส้นทางอุบลราชธานี - อำเภอตระการพืชผลประมาณ 3 กิโลเมตร

 ประวัติความเป็นมา  :
                      เมื่อช่วงต้นปี พ . ศ . 2533 มีการค้นพบหลักฐานและแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง อุบลราชธานีมากนัก บริเวณที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณพื้นที่บางส่วนของเนินดินขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ ดอนดงเมือง ”

                      แต่เดิมดอนดงเมืองมีพื้นที่ติดต่อกันประมาณ 100 ไร่ ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนสาย อุบลฯ – ตระการพืชผล ผ่านและมีการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยอุบลราชธานี พร้อมทั้งการเกิดหมู่บ้านจัดสรรขึ้น โดยมีการเข้ามาแบ่งสันปันส่วนสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์แตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีพื้นที่ป่าชุมชนอีกส่วนหนึ่งเหลืออยู่ บริเวณป่าหนาทึบดังกล่าวนี้ชาวบ้านเรียกว่า “ ดอนตาปู่ ” เป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านแถบนั้นให้ความเคารพนับถือ ใครจะเข้าไปแตะต้องหรือละเมิดไม่ได้โดยทั่วไปแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมี “ ดอนตาปู่ ” อยู่แทบทุกหมู่บ้านและเป็นที่น่าสนใจว่าบริเวณดอนปู่ตาส่วนใหญ่จะเป็นเนินโบราณสถาน หรือไม่ก็เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแทบทั้งสิ้น พื้นที่ดอนปู่ตาของดงดอนเมืองก็เช่นกัน ยังเป็นป่าบริสุทธิ์ไม่ถูกรบกวนโดยกิจกรรมพัฒนาหรือการทำลายใด ๆการพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากมายที่ดอนดงเมือง ซึ่งแต่เดิมก็มีชาวบ้านเคยพบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากมาก่อนเช่นกัน แต่ยังไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก ต่อมาเมื่อมีการขุดดินเพื่อทำโครงการก่อสร้างบ้านจัดสรรของหมู่บ้านการเคหะอุบลราชธานี ซึ่งมีนายภุชงค์ ทองคำพงษ์และนางนวลน้อย ทองคำพงษ์ เป็นเจ้าของและผู้จัดการจึงได้พบโบราณวัตถุและหลักฐานการฝังศพโดยบังเอิญ หลังจากข่าวการค้นพบแพร่กระจายออกไป จึงมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุกันมากขึ้น ประกอบกับมีฝนตกชุก หลักฐานที่ขุดพบซึ่งส่วนใหญ่เป็นหม้อดินเผาขนาดใหญ่ และยังฝังอยู่ในพื้นดินก็ถูกน้ำฝนกัดเซาะจนแตกพังทลายลง  หม้อดินเผาที่บรรจุอยู่ภายในอีกหลายใบก็ถูกนำออกมาและขุดเอาข้าวของที่บรรจุอยู่ภายในออกมาจำนวนมาก ซึ่งทำให้หลักฐานทางโบราณคดีสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย แต่ทางเจ้าของและผู้จัดการหมู่บ้านฯ ก็ได้พยายามป้องกันการขยายตัวของการขุดทำลาย โดยล้อมรั้วลวดหนามและทำหลังคาชั่วคราวคลุมบริเวณที่พบโบราณวัตถุ ป้องกันแดดฝน และแจ้งเรื่องให้กรมศิลปากรมาดำเนินการขุดค้นศึกษา และอนุรักษ์ตามกระบวนวิธีที่ถูกต้อง

                        ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ . ศ .2533 คณะทำงานในโครงการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการฯ เขื่อนปากมูล นำโดยอาจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ หัวหน้างานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่และศึกษาหลักฐานโบราณวัตถุที่เก็บไว้ ณ สำนักงานหมู่บ้านการเคหะอุบลราชธานี และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากนายภุชงค์และนางนวลน้อย ทองคำพงษ์ และนายลำดวน สุขพันธ์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางในการอนุรักษ์และจัดแสดงให้ผู้ที่สนใจเข้าชมต่อไป

อาคารสถานที่  :
                         สถานที่ในการจัดแสดงแหล่งโบราณคดีวัดก้านเหลือง จะจัดแสดงเป็นหลุมขุดค้นที่ขุดพบจริง และมีโบราณวัตถุที่ยังฝังอยู่ภายในดิน
ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันภายในบริเวณวัดบ้านก้านเหลือง

การจัดแสดงภายใน  :
                        แหล่งโบราณคดีวัดบ้านก้านเหลือง มีการจัดแสดงหลุมขุดค้นที่เกิดจากการขุดค้นจริง พร้อมทั้งโบราณวัตถุที่ขุดพบจริง ภายในหลุมขุดค้นและมีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติแหล่งโบราณคดีวัดก้านเหลือง ลักษณะโบราณวัตถุที่ขุดค้นเจอภายในหลุม โดยมีการอธิบายรายละเอียดวัตถุ
แต่ละประเภทให้ผู้เข้าชมได้ศึกษา

                ลักษณะพิเศษที่เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชุมชน

               เป็นแหล่งของการศึกษาเรียนรู้โดยเฉพาะผู้ที่สนใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล หลุมขุดค้นจริง ลักษณะของโบราณวัตถุที่ฝังอยู่ใต้ดินจริง ซึ่งหาดูได้ยากเพราะส่วนใหญ่วัตถุที่ได้มาเพื่อจัดแสดงจะมีการนำขึ้นมาจากหลุมขุดค้น

               ผลของการขุดค้นศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานต่างๆ สรุปว่า บริเวณบ้านก้านเหลืองในอดีต มีคนเข้ามาใช้พื้นที่นี้ตั้งแต่เมื่อ 1,500 - 2,500 ปีมาแล้ว เป็นคนในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อกับระยะเริ่มต้นประวัติศาสตร์

           หลักฐานที่พบในระดับลึกที่สุด จัดให้อยู่ในสมัยของคนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคโลหะตอนปลาย) พบหลักฐานเครื่องมือเหล็ก ขี้แร่ที่เหลือจากการถลุงแกลบข้าว เศษศภาชนะดินเผา เครื่อมือช่วยปั้นหม้อที่เรียกว่า หินดุ แท่งดินเผาไฟ

               หลักฐานที่สำคัญที่สุด คือ กาคค้นพบภาชนะบรรจุกระดูกกระดูกขนาดใหญ่จำนวน 11 ใบ 7 แบบ โดยภาชนะในกลุ่มรูปทรงรี พบอยู่ในชั้นดินลึกที่สุด ต่อมาพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปทรงภาชนะเป้นทรงกลมแทน จึงได้พบรูปทรงกลมอยู่ในชั้นดินที่สูงกว่า ภาชนะทั้ง 2 ทรงเป็นภาชนะที่มีฝาปิดเสมอ

               แม้ในการขุดค้นภาชนะขนาดใหญ่ดังกล่าว จะไม่พบร่องรอยของชิ้นกระดูกอยู่ภายในเลยก็ตาม แต่ได้นำตัวอย่างดินที่พบในภาชนะนั้น ไปให้นักวิทยาศาสตร์ของกรมศิลปากรวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของดิน พบว่าดินในภาชนะมีประมาณของฟอสเฟตและแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าดินทั่วไป ทำให้เชื่อว่าน่าจะเกิดมาจากองค์ประกอบหลักทางเคมีของกระดูกที่อยู่ในรูปของฟอสเฟตและคาร์บอเนตของแคลเซียม ซึ่งถูกย่อยสลายไปหมด เนื่องจากความเป็นกรดของฝนชะในเวลานานหลายร้อยปี

               ในภาคอีสานบริเวณลุ่มน้ำมูลและชี ได้ค้นพบภาชนะบรรจุกระดูกอยู่ทั่วไปด้วยเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่มีกระดูกหักรวมกันอยู่ภายในภาชนะดินเผา หรือที่เรียกกันว่าเป็นการฝังศพครั้งที่ 2 ภายหลักจากทำการทำศพครั้งแรก แล้วทิ้งระยะเวลาไปช่วงหนึ่ง จึงนำกระดูกมาใส่รวมกันในภาชนะมีเครื่องเซ่นศพฝังรวมกันไปด้วย ประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะ พบว่ามีการแพร่กระจายเข้าไปในดินแดนลาวที่เรียกว่า ทุ่งไหหิน และในประเทศเวียตนามด้วย

               แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง จึงอาจแสดงหลักฐานการฝังศพครั้งที่ 2 ของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อันเป็นสังคมที่รู้จักการเพาะปลูก (ข้าว) รู้จักการถลุงโลหะ และทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะเหล็กและสำริด รู้จักการปั้นภาชนะดินเผา อายุของชุมชนนี้อยู่ระหว่าง 1,500 - 2,500 ปีมาแล้ว

               หลักฐานที่พบจากชั้นดินระดับบนๆ น่าจะมีอายุอยู่ในระยะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรมทวารวดี โบราณวัตถุที่พบมี พวยกาดินเผา แววดินเผา เศษเหล็ก ขี้แร่ แท่งดินเผา ลูกปัดดินเผา กระพรวนสำริด และขวานเหล็ก เปรียบเทียบอายุสมัยโบราณวัตถุเหล่านี้ กับหลักฐานที่พบในแถบอิสานโดยทั่วไป มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16

เเผนที่ : 


V
V
V
V
V

สมาชิก
1.นางสาวเบญจภัทร  คำกันหา  ชั้น.ม.6/5  
2.นางสาวนิตยา  พิมพะนาม
3.นางสาววิชุดา  ดำพะธิก
4.นางสาวสาริณี  ทัดรอง
5.นางสาวชลธิชา  ลือโฮ้ง
6.นางสาวธิดารัตน์  ทวีดี
7.นางสาวปนัดดา  มิ่งมาลี
8.นางสาวรุ่งทิวา  กุคำรักษ์
9.นางสาวภัศรา  บุราเลข

เเหล่งที่มา : http://guideubon.com/news/view.php?t=26&s_id=3&d_id=2
                    https://museum.msu.ac.th/esanmuseum/data/ubon_kanleung.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เเหล่งชุมชนพึ่งพาตนเองทางเศรฐกิจ

บ้านยางแดง ตำบล คู้ยายหมี อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ความเป็นมา                บ้านยางแดง ต. คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ. ฉะ...