วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

เเหล่งชุมชนพึ่งพาตนเองทางเศรฐกิจ


บ้านยางแดง

ตำบล คู้ยายหมี อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา 

ความเป็นมา 

              บ้านยางแดง ต. คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ป่าสงวนแควระบบ-สียัดหลังจากสิ้นสุดการสัมปทานตัดไม้ของบริษัทเอกชนได้มีชาวบ้านจากชุมชนใกล้เคียงเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่เพื่อจับจองที่ดินทำกิน และหาของป่าขาย เช่น ตัดไม้แก่น ปลูกข้าวไร่ เผาถ่าน ตักน้ำมันยาง หาสมุนไพรและของป่าอื่นๆ ขายให้พ่อค้าในตลาดเกาะขนุน เป็นต้น ต่อมากระแสการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อขายได้ขยายจากจังหวัดชลบุรีเข้ามาในพื้นที่ คือ มันสำปะหลังและข้าวโพด ส่งผลให้ชาวบ้านถากถางป่าเพื่อปลูกมันสำปะหลังกันอย่างกว้างขวางและมีชาวบ้านอพยพเข้ามาสมทบเพิ่มจาก จังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี การเข้ามาอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่นั้นเพื่อเพราะปลูกพืชเศรษฐกิจขาย ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ในระยะแรกดีขึ้นมาก ส่งผลให้ชาวบ้านถากถางพื้นที่เพื่อการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะคิดว่าการปลูกมันสำปะหลังแล้วจะทำให้เศรษฐกิจของตนดีขึ้น เพราะบ้านยางแดงเป็นพื้นที่ป่าเปิดใหม่ทำให้การปลูกมันและพืชเศรษฐกิจต่างๆ มีต้นทุนต่ำ ได้ผลผลิตต่อไร่สูง (เฉลี่ย 3-4 ตันต่อไร) ต่อมาผลผลิตลดต่ำลงเนื่องจากการเพราะปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องทุกปีโดยขาดการปรับปรุงดิน ทำให้ผลผลิตลดลงน้อยลง เป็นการสวนทางกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ แหล่งอาหารธรรมชาติที่ชาวบ้านได้พึ่งพาอาศัยลดน้อยลงไปพร้อมกันกับการประสบปัญหาหนี้สินนอกระบบซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมีลักษณะที่ต่างคน ต่างอยู่ขาดความเชื่อมั่นและไว้ใจซึ่งกันและกัน มีปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเนื่องจากโจรผู้ร้ายชุกชุม มีปัญหาสุขภาพอนามัยเพราะเป็นเขตระบาดของโรคมาลาเรีย และมีระบบสาธารณสุขที่สำหลัง การบริการของรัฐเข้ามาไม่ถึงชาวบ้าน ปี พ.ศ. 2522 มีนักพัฒนาอิสระเข้ามาช่วยงานป่าไม้เขตปราจีนบุรีในการปลูกป่าเสริมที่บ้านยางแดงและได้อาสาเข้าไปสอนนักเรียนร่วมกับครูในโรงเรียนเนื่องจากครูมีจำกัด ทำให้ได้รับรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวผ่านนักเรียน

การดำเนินการพัฒนาของชุมชนแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ 

       1) ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2523 – 2527 นักพัฒนาอิสระ ผู้นำ และครู ได้มีการสรุปบทเรียนร่วมกันและพบว่าการดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนที่ผ่านมาประสบปัญหาในการดำเนินการในหลายกิจกรรม เนื่องจากขาดการมีส่วนของผู้หญิงในกระบวนการพัฒนาของครอบครัวและชุมชน จึงได้มีการบวนการพัฒนาของครอบครัวและชุมชน จึงได้มีการปรับกระบวนการและทิศทางการดำเนินการในระยะต่อไป 
       2) ระยะที่ 2 ระหว่าง ปี 2527 – 2540 เน้นการเสริมกระบวนการศึกษาเรียนเพื่อเสริมศักยภาพของผู้นำและชาวบ้านโดยเฉพาะสตรีในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมทางเลือก การพัฒนากองทุนให้เติบโตเข้มแข็งเป็นฐานในการสนับสนุนแก้ไขปัญหาของครอบครัว และชุมชน รวมทั่งเป็นองค์กรแกนหลักของชุมชนในการประสานความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน และประเด็นสำคัญคือการให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ข่าวสารข้อมูล พัฒนาความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพของตนเองในการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมกระบวนการพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างเคียงไหล่กับผู้นำชาย ซึ่งนำไปสู่การเกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแม่บ้านยางแดงขึ้น ซึ่งเป็นเวทีการเรียนรู้ร่วมกันของผู้หญิงในการแก้ไขปัญหาของผู้นำครอบครัว และชุมชนให้เกิดการพึ่งตนเองในด้านอาหาร สวัสดิการ และการออมในทุกระดับ เพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข้งด้านเศรษฐกิจ สังคมของครอบครัวและชุมชน
        3) ระยะที่ 3 ระหว่างปี 2528 – 2544 พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแม่บ้านยางแดง มีสมาชิกทั้งสิ้น 127 คน ประมาณทั้งสองกลุ่มได้ร่วมมือกันพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดีโดยทั้งกลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้านได้ร่วมกันวางแผนพัฒนาและสรรหาทรัพยากรเข้ามาแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างต่อเนื่องทำหน้าที่ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คือ จัดสวัสดิการให้ชุมชนการให้สินเชื่อแก่สมาชิกการจัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ
  
       ดังนั้นเศรษฐกิจชมชุนและการพึ่งตนเองของชุมชนตามกรณีศึกษานี้  เป็นระบบเศรษฐกิจที่ 3 คือระบบเศรษฐกิจแบบสมาชิกภาพ ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการที่ครอบครัวมีการผลิตเพื่อให้พอเพียงแก่การบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือนำมาขายและเก็บออมไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็น โดยการรวมกลุ่มกันสะสมทุนด้วยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ผลกำไรที่ได้ก็มาแบ่งบันให้สมาชิกและจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกผู้ด้อยโอกาสในชุมชนและนอกชุมชน นอกจากนี้การรวมกลุ่มยังกลายเป็นศูนย์กลางในการรับบริการจากองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ เช่นการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลให้ทำโครงการนำร่องเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เป็นต้น



ขอบคุณข้อมูลจาก คุณวิไลวรรณ  ปันวัง 


เเหล่งชุมชนพึ่งพาตนเองทางเศรฐกิจ

บ้านยางแดง ตำบล คู้ยายหมี อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ความเป็นมา                บ้านยางแดง ต. คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ. ฉะ...