วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ตัวอักษรไทย


ความเป็นมาของตัวอักษรไทย




วิวัฒนาการของตัวอักษรไทย


    ตัวอักษรไทยในยุคแรกๆสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรอินเดียแต่ยังไม่ปรากฎมีหลักฐานชัดเจนและใช้ตัวอักษรขอมหวัดในยุคที่ขอมเรืองอำนาจในระยะต่อมาเมื่อประมาณปีพ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้ ที่เรียกว่า "ลายสือไทย" ลายสือไทยที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอมโดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น ทรงกำหนดได้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดรวมกับตัวพยัญชนะทั้งหมดเช่นเดียวกับแบบอย่างตัวอักษรของโรมันและทรงคิดให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาไทย จนถึงทุกวันนี้                                                                                       


กำเนิดอักษรไทย




              พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิมซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระและวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
        “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…” (ปี ๑๒๐๕ เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๘๒๖)
          ภาษาเขียนของคนไทยเกิดขึ้นหลังจากที่คนไทยสร้างเมืองของตนเองขึ้นแล้ว คือ สุโขทัย เมื่อปี  พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓  ของเมืองสุโขทัย ทรงจารึกเรื่องตัวหนังสือไทยไว้ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ตอนหนึ่งว่า เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี ที่แล้วมาเมืองสุโขทัยของคนไทยนับว่าเป็นเมืองใหม่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านั้นชนชาติอื่นๆรอบด้านมีการรวมตัวกันเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้วและที่เป็นเมืองแล้วต่างก็มีภาษาเขียนเป็นของตนเองทั้งสิ้นเมืองเขมร เมืองมอญเมืองพม่าล้วนมีภาษาเขียนของตนเองก่อนคนไทยในยุคนั้นและก่อนหน้านั้นเท่าที่ปรากฏในอินเดีย ลังกา และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจารึกเรื่องของการปกครองเมือง ศาสนา และประชาชน นับเป็นประเพณีนิยมของกษัตริย์ทั่วไป เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นปกครองเมือง เมื่อมีการทำสงคราม การทำบุญครั้งใหญ่หรือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นในเมืองก็เป็นประเพณีของกษัตริย์ที่จะทรงบันทึกเรื่องราวไว้ในอินเดียและลังกา มีการเก็บบันทึกจารึกต่างๆทั้งของวัดและกษัตริย์นับได้เป็นจำนวนแสนประเพณี การจารึกเรื่องราวนี้ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยและในย่านนี้จารึกโบราณมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤต และต่อมาก็มีจารึกเป็นภาษาของคนพื้นเมืองด้วยคนไทยคงจะใช้ตัวอักษรอื่นที่ใช้แพร่หลายกันอยู่ในย่านนั้นมาก่อน ซึ่งมีทั้งอักษรมอญและขอมแต่เมื่อคนไทยมีเมืองเป็นของตนเองมีกษัตริย์ไทยเองแล้วแรงผลักดันที่จะต้องมีตัวอักษรของตนเองเพื่อบันทึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมืองตามประเพณีอยู่ในขณะนั้นก็ย่อมเกิดขึ้นการใช้ภาษาของไทยเองย่อมจะทำให้เมืองไทยมีฐานะเท่าเทียมกับเมืองอื่นๆที่มีอยู่ก่อนแล้ว เราอาจนับว่าการเป็นเมืองและประเพณีการจารึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น
          ตัวอักษรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นตัวเขียนที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีที่แล้ว เข้าใจว่าคงจะได้เปรียบเทียบหรือปรับปรุงจากตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงตัวหนังสือในปัจจุบันแตกต่างไปจากสมัยสุโขทัยมากแต่ระบบของตัวพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ยังคงเดิม
          อักษรไทยมีใช้มานานประมาณ ๗๐๐ ปีแล้วจึงเป็นธรรมดาที่จะมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษาในปัจจุบันทั้งในด้านการเขียนและการแทนเสียงและเพราะเหตุว่าตัวเขียนไทยเป็นตัวอักษรแทนเสียงระบบภาษาเขียนจึงเป็นเสมือนบันทึกของลักษณะเสียงของภาษาไทยเมื่อสมัยประมาณ ๗๐๐ ปี มาแล้วได้เป็นอย่างดี นักภาษาศาสตร์สามารถใช้วิธี การที่เป็นวิทยาศาสตร์อธิบายให้เห็นว่าเสียงของภาษาในสมัยสุโขทัยต่างไปจากเสียงในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์


ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
     ๑. อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
  ๒. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้น สระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
     ๓.สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
     ๔.สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี   โดยไม่มีไม้หน้า
     ๕.สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
     ๖.สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
     ๗.สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
     ๘.ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
      ฯลฯ
             อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้างและกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน
ที่มา : http://www.bloggang.com/data/b/bongvoyagu/picture/1347209424.jpg
        : http://tathanapan.blogspot.com/p/blog-page_8.html

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนและวิธีการทางประวัติศาสตร์

ตั้งคำถามในแต่ล่ะขั้นตอนทางประวัติศาสตร์

1.ขั้นตอนเเรกที่จะกำหนดเรื่องหรือประเด็นที่ต้องการศึกษา คืออะไร?

2.หลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลเเบบใด?

3.ถ้านักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลจะมีผลกระทบอย่างไร

4.การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร สังเกตได้จากสิ่งใด?

5.การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ มีขั้นตอนอย่างไร?

ธีรพันธ์ บุญบาง

ธีรพันธ์ บุญบาง ผู้นำวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

                      ธีรพันธุ์  บุญบาง เกิดเมื่อวันที่  17  มีนาคม  2497 

- เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน  6  คน ของนายแหวน  บุญบาง (อดีต

กำนันตำบลหนองบัว) กับนางคำ  บุญบาง  

-ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนโพฒิสารศึกษา 

อำเภอเมืองนครสวรรค์  จังหวัสวรรค์ 

-ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ (การ

ปกครอง) ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

-เริ่มต้นชีวิตการเป็นผู้นำด้วยการเป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี  2530  

-ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองบัว อำเภอ

หนองบัว จังหวัดนครสวรรค์  สมรสกับนางกาญจนา  บุญบาง  มี

บุตร,ธิดา รวม 3  คน  


หนึ่งงานพอเพียง






                   ผลการทำงาน ของ ธีรพันธ์  บุญบางทั้งด้านการปกครองและการพัฒนา  ส่งผลดีต่อประชากรของบ้านเนินน้ำเย็นเป็นอย่างมาก  ทำให้ธีรพันธ์  บุญบาง    ได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆมากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีพุทธศักราช  2546 ธีรพันธ์ บุญบาง  ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยมแหนบทองคำ  จากกระทรวงมหาดไทย  ขณะเดียวกันธีรพันธ์  บุญบาง  ซึ่งเชื่อมั่น  และศรัทธาต่อแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้น้อมนำแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ปฏิบัติในครอบครัว  ด้วยการนำหลักการพอประมาณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    มาปฏิบัติในพื้นที่  1  งาน ด้วยการดำนาปลูกข้าว เลี้ยงปลาดุกและเลี้ยงกบไปพร้อม ๆ กัน  ธีรพันธ์  บุญบาง    ค้นพบว่าพื้นที่  1 งาน สามารถผลิตข้าวเปลือกได้ถึง  27  ถัง  ปลาดุก190 กิโลกรัม กบ 235  กิโลกรัม  ภายในระยะเวลา  3  เดือน คิดเป็นรายได้  29,600  บาท  ในรอบระยะเวลา 1 ปี สามารถทำรายได้เช่นนี้ได้ 3 ครั้ง  จึงทำให้ 1 ปี มีรายได้ถึง 88,800  บาท


       นอกจากนี้ยังพบว่าแมลงและวัชพืชที่เกิดในนาสามารถเป็น


อาหารของกบและปลาได้ด้วย  ขณะเดียวกันขี้ปลา ขี้กบ ยังเป็นปุ๋ยให้


แก่ต้นข้าวได้เป็นอย่างดีกระบวนการในพื้นที่นา 1 งานของธีรพันธุ์จึง


เป็นกระบวนการที่มีทั้งความพอประมาณ  ความมีเหตุผลและการมีภูมิ


คุ้นกัน ไปในตัวรายได้จากการใช้พื้นที่นา 1 งานทำให้ครอบครัวของ


ธีรพันธุ์มีรายได้อย่างเพียงพอ


ปัจจัยที่ทำให้การทำงานในชุมชนประสบผลสำเร็จ

                ธีรพันธุ์  บุญบาง  แสดงทัศนะไว้ว่า " ความสำเร็จของการ

ทำงาน ขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นหลักผู้เป็นผู้นำจะต้องมีความเชื่อมั่น

ในตัวเองว่าสามารถทำงานให้สำเร็จได้  และต้องเชื่อมั่นต่อ

เพื่อนร่วมงานรวมทั้งคนในชุมชนว่าพวกเขามีความสามารถที่

จะทำงานให้สำเร็จได้  เหนืออื่นใดเราจะต้องมีความเชื่อมั่นและ

ศรัทธาต่องานที่ทำว่าสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ส่วนร่วม

ได้  ขณะเดียวกันผู้นำจะต้องมีความรู้ในงานที่ทำอย่างถ่องแท้  

รวมทั้งต้องมีคุณธรรมเป็นเครื่องกำกับด้วย "


                  ธีรพันธุ์  บุญบาง  เริ่มต้นการพัฒนาตนเองด้วยการนำตัว


ชี้วัดมาตรฐานงานชุมชน ระดับบุคคล มาเป็นแนวทางในการพัฒนา


ตนเอง  พร้อม ๆ กับส่งเสริมให้ผู้นำในชุมชนได้ใช้แนวทางนี้พัฒนา


ตนเองด้วย  ทำให้กระบวนการทำงานในบ้านเนินน้ำเย็น ของธีรพันธุ์ 

 

บุญบางมีพลังเพื่อจัดการกับปัญหา


ของชุมชนได้

                 วันนี้รายได้จากการใช้พื้นที่  1  ไร่  ของธีรพันธุ์  บุญบาง

สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวของธีรพันธุ์  ได้เป็นอย่างดี  และ


ยังเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอ


เพียงแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้อย่างเป็น


รูปธรรมและสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจได้เป็นอย่างดียิ่ง


ที่มา : http://panyasa.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถังขยะ


ประเภทและสีของถังขยะ


      ถังขยะทั้งหมดมีอยู่ 4 ประเภท แต่ละประเภทนั้นก็รับขยะต่างกัน แต่ในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่มักจะทิ้งขยะลงถังไม่ถูกประเภทกัน เช่น กล่องโฬมทิ้งถังขยะสีเขียวบ้าง ถังขยะสีแดงบ้าง ซึ่งคนแบบนี้มักจะเป็นคนที่มักง่าย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคนเห็นแก่ตัว คิดว่าใกล้ถังขยะประเภทไหนก็ทิ้งลงถังนั้น ดังนั้นเราควรทิ้งขยะให้ถูกต้อง ตามสีและประเภทของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการแยกขยะ  ดังนี้


1.  ถังขยะ สีเขียว คือ ถังขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารกิ่งไม้ ใบไม้ ผัก และขยะอีกมากมายที่สามารถย่อยสลายได้




2.  ถังขยะ สีเหลือง คือ ถังขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น กระดาษ ขวดน้ำ แก้วน้ำ เศษเหล็ก




3.ถังขยะ สีน้ำเงิน คือ ถังขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น โฟม ถุงขนม พลาสติก





4.  ถังขยะ สีแดง คือ ถังขยะที่เป็นพิษ เช่น กระป๋องสี สีสเปรย์ แบตเตอรี่ ยาฆ่าแมลง และอื่นๆ ที่เป็นพิษ



ที่มา http://www.promptstore.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539865798


เเหล่งชุมชนพึ่งพาตนเองทางเศรฐกิจ

บ้านยางแดง ตำบล คู้ยายหมี อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ความเป็นมา                บ้านยางแดง ต. คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ. ฉะ...