บาทหลวงปาลเลอกัวซ์
➡ เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่เมืองโกต-ดอรประเทศฝรั่งเศส เมื่อทานอายุได23 ปทานก็ไดตัดสินใจบวชเปนบาทหลวงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ที่เซมินารีของคณะมิสซังตางประเทศแหงกรุงปารีสจากนั้นทานก็ไดรับหนาที่ใหไปเผยแพรศาสนาคริสตณ ประเทศไทย และทานไดออกเดินทางเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธพ.ศ.2372 ในปพ.ศ. 2381 ทานไดรับ
ตําแหนงอธิการโบสถคอนเซ็ปชัญ
➡ สังฆราชปลเลอกัวซไดเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2397 ชวงตนรัชกาลที่ 4 หลังจากใชชีวิตอยูในประเทศไทยนานหลายปและเปนผูนําพระราชสาสนจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวไปถวาย สมเด็จพระสันตะปาปาปอุสที่ 9 ขณะพํานักอยูที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราชปลเลอกัวซไดตีพิมพหนังสือขึ้น3 เลม คือ
- เลาเรื่องกรุงสยาม(Description du Royaume Thaiou Siam)
- สัพะ พะจะนะ พาสา ไท (พจนานุกรมสี่ภาษา)
- Grammatica linguoe Thai (ไวยากรณภาษาไทย)
➡ พระสังฆราชปลเลอกัวซใชชีวิตอยูที่ฝรั่งเศสนาน 3 ปจึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2399 และถึงแกมรณภาพที่โบสถอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405 อายุ 57 ป
ผลงาน
➡
บาทหลวงปาลเลอกัวซ หรือ
ฌอง แบบตีสต ปาลเลอกัวซ (พ.ศ. 2348 - 2405) ชาวฝรั่งเศส เปนบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเขามาเผยแผคริสตศาสนาที่เมืองไทยตั้งแตพ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวไดศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรูดี รวมทั้งมีความรูดานดาราศาสตร ภูมิศาสตร และวิทยาศาสตร บาทหลวงปาลลอกัวซไดสรางสรรคผลงานวิชาความรูที่มีคุณคายิ่งตอการศึกษาและประวัติศาสตรไทย ดังนี้
➤
ด้านอักษรศาสตร์
➥ทำพจนานุกรมภาษาไทย
➥เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส
➥เเต่งหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องเมืองสยาม"
➤
ด้านวิทยาศาสตร์
➥เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย
➥สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเช็ปชัญ
➥จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์
➤
ด้านศาสนา
➥สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยเเผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก
พระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis Bowes Sayre)
➡ ดร.ฟรานซิส บีแซรชวยดําเนินการเจรจาแกไขสนธิสัญญาเบาวริงที่ไทยทํากับอังกฤษไวสมัย ร.4 และสนธิสัญญาที่ไมเปนธรรมอื่นๆซึ่งฝาย ไทยเสียเปรียบในเรื่องที่คนในบังคับตางชาติไมตองขึ้นศาลไทย และไทยเก็บภาษีจากตางประเทศเกินรอยละ 3 ไมได
ผลงาน
➠ฟรานซิสมีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ 3 ไม่ได้
➠ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ปรากฏว่ามีเพียง 2 ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมแก้ไขใน พ.ศ.2436 และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.ศ.2466
➠ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้ฟรานซิสเป็นผู้แทนประเทศไทยไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศในยุโรป ท่านเริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานใน พ.ศ.2467 การเจรจาเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจากับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเต็มที่ แต่เนื่องจาก ดร.แซร์ เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ มีความสามารถทางการทูต และมีความตั้งใจดีต่อประเทศไทย ประกอบกับสถานภาพส่วนตัวของ ฟรานซิส ที่เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ
➠ประเทศในยุโรปที่ทำสนธิสัญญากับไทย ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี และเบลเยี่ยม ยินยอมแก้สนธิสัญญาให้เป็นแบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกายอมแก้ให้ ฟรานซิสถวายบังคมลาออกจากหน้าที่กลับไปสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ.2486 แต่ก็ยังยินดีที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ดังเช่นใน พ.ศ.2469 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ฟรานซิสได้ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามที่ทรงถามไป และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทรงพิจารณาด้วย แต่ทว่าเกิดการปฏิวัติสยามขึ้นเสียก่อน จึงไม่ได้ออกใช้ เป็นผู้แทน
➠ จากคุณงามความดีที่ ดร.แซร์ มีต่อประเทศไทย จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ.2470 และต่อมาใน พ.ศ.2511 รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์) ว่าถนนกัลยาณไมตรี พระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2515 อายุได้ 87 ปี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
➡ ศาสตราจารยศิลปพีระศรี(15 กันยายน พ.ศ.2435— 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอรราโด เฟโรชี- Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เปนปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยไดสรางคุณูปการในทางศิลปะจนเปนที่รูจักกวางขวาง ทั้งยังเปนผูกอตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเปนที่รักใครและนับถือทั้งในหมูศิษยและอาจารยและไดรับการยกยองเปนปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแหงนี้มีผลงานที่โดดเดนหลายอยางในประเทศไทย ไดแก พระราชานุสาวรียของสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ที่สวนลุมพินีและอนุสาวรียทาวสุรนารี
ผลงานสำคัญ
• พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีขนาด 3 เท่าคนจริง ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นช่างปั้น และเดินทางไปควบคุมการหล่อที่ประเทศอิตาลี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2472
• อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477
• รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485
• พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484
• พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493
• พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497
• รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน
• พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 25 พุทธศตวรรษ ที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ .2498 ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จอีกคือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
ผลงานด้านการศึกษา ด้วยเหตุที่ท่านได้ฝึกฝนเยาวชนไทยให้เข้าช่วยงานปั้นอนุสาวรีย์ จึงเป็นแรงบันดาลใจท่านจัดตั้งโรงเรียนของทางราชการขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยสอนเฉพาะวิชาประติมากรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ทางกระทรวงธรรมการได้เห็นความสำคัญในสิ่งที่ท่านทำ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนศิลปากร จัดทำหลักสูตรศิลปกรรมชั้นสูง 4 ปี ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2486 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
ผลงานด้านเอกสารทางวิชาการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีผลงานทางด้านเอกสารทางวิชาการ ตำรา และบทความมากมาย ซึ่งล้วนแต่ให้ความรู้ทางศิลปะ พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของศิลปะ เช่น ทฤษฎีของสี ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะและราคะจริต อะไรคือศิลปะ ภาพจิตรกรรมไทย พรุ่งนี้ก็ช้าเสียแล้ว ฯลฯ ตลอดเวลาที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เดินทางเข้ามารับราชการและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ท่านได้ทุ่มเทความรัก ความรับผิดชอบให้แก่งานราชการอย่างมหาศาล แม้ว่าท่านอยู่ในฐานะของชาวต่างชาติก็ตาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านได้โอนสัญชาติเป็นไทยและเปลี่ยนชื่อเป็นไทย พ.ศ. 2502 สมรส กับ คุณมาลินี เคนนี และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตลอดอายุของท่าน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกในลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริรราช เมื่อคืนวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น 38 ปี 4 เดือน
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
➡ เกิดที่จังหวัดระนอง เมื่อวันพุธ เดือน 5 ปมะเส็ง พ.ศ.2400 เปนบุตรชายคนสุดทองของ พระยารัตนเศรษฐี(คอซูเจียง) จีนฮกเกี้ยน ที่ไดรับบรรดาศักดิ์เลื่อนฐานะจากพอคาเปนขุนนาง เริ่มรับราชการในแผนดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวเมื่อ พ.ศ.2425
➡ เมื่อพ.ศ. 2428 ไดแสดง ความสามารถ สรางบานบํารุงเมืองใหเปนที่ปรากฎ จึงไดรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลาฯ ใหเปนที่ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดีเจาเมืองตรังในปพ.ศ. 2433 และในปพ.ศ.2455 โปรดเกลาใหเปน สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
ผลงานสำคัญ
1. ด้านการปกครอง กุศโลบายหลักในการปกครองของท่านคือ หลักพ่อปกครองลูก ทำนองเดียวกับที่ใช้ในยุคสุโขทัย นอกจากจะยึดหลักพ่อปกครองลูกแล้ว ยังยึดหลักในการแบ่งงาน และความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังจะเห็นได้จาก การริเริ่มจัดตั้งที่ว่าการกำนันขึ้นเป็นแห่งแรก ที่มณฑลภูเก็ต และได้จัดระเบียบการประชุมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอให้เป็นที่แน่นอน
2. ด้านการส่งเสริมอาชีพราษฎร อาจจะเป็นเพราะพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เกิดในตระกูลพ่อค้า ท่านจึงมีโลกทรรศน์ ต่างจากขุนนางอื่น ๆ คือ มีอุปนิสัยบำรุงการค้า เมื่อเป็นเจ้าเมืองตรังได้ย้ายจากตำบลควนธานีไปอยู่ตำบลกันตังด้วยเหตุผลที่ว่า มีทำเลการค้าที่ดีกว่า เรือกลไฟ เรือสินค้าใหญ่ สามารถเข้าถึงได้สะดวก เหล่านี้เป็นต้น
3. ด้านการคมนาคม พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ให้ความสำคัญเป็นที่สุด โดยเฉพาะการสร้างถนน
4. ด้านการรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้สร้างความคิดใหม่ขึ้นในหมู่ราษฎร กล่าวคือ ราษฎรทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่โดยเพื่อนบ้าน และเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจะทอดธุระให้แก่เจ้าพนักงาน บ้านเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้
5. ด้านการศึกษา แม้พระยารัษฎานุประดิษฐ์จะเขียนหนังสือไม่ได้ แต่ท่านก็ประจักษ์ในคุณประโยชน์ของการศึกษา ได้พยายามสนับสนุนในทุกทาง เริ่มแรกให้ใช้วัดเป็นโรงเรียน จัดหาครูไปสอน บางครั้งก็นิมนต์พระสงฆ์ไปสอน นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกบุตรหลานข้าราชการ ผู้ดีมีสกุลในจังหวัดต่าง ๆ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ปีนัง เป็นต้น
6. ด้านการสาธารณสุข นอกจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จะรณรงค์เรื่องความสะอาด บังคับให้ราษฎรดูแลบ้านเรือน ให้สะอาดเรียบร้อย
ผลงานของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ นับได้ว่าเป็นเลิศกว่านักปกครองคนอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน ท่านได้รับการยกย่อง แม้ในหมู่ชาวต่างประเทศและตลอดแหลมมลายูยุคนั้นว่า เป็นผู้มีความสามารถสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นทั้งนักปกครอง และนักพัฒนาในเวลาเดียวกัน
เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูต่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ราษฎรและข้าราชการ จังหวัดตรังจึงได้สละทรัพย์สมทบ สร้างอนุสาวรีย์ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีขึ้นที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ในวันที่ 10 เมษายน ของทุก ๆ ปีซึ่งเรียกกันว่า "วันพระยารัษฎานุประดิษฐ์" จะมีการวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์
ออกญาโกษาธิบดี (ปาน)
➡ ออกญาโกษาธิบดี มีชื่อเดิมว่า ปาน เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสุทธสุนทร (ปาน)
➡ ใน พ.ศ. 2228 สมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งคณะทูตเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระวิสุทธสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะเพื่อไปถวายพระราชสาสน์ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส สำหรับการเข้าเฝ้าในครั้งนี้ ออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักอยุธยาอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสได้กล่าวยกย่องชื่นชมคณะทูตไทย ซึ่งถือว่าการไปเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
➡ ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ได้รับการยกย่องสรรเสริญในเรื่องความสามารถทำให้ไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และจากบุคลิกของท่านที่เฉลียวฉลาด มีมารยาทเรียบร้อย ช่างสังเกต ช่างจดจำ พูดจาหลักแหลมคมคาย ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการประกาศชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศชาติ
➡
จากผลงาน การเป็นหัวหน้าคณะราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสจนประสบผลสำเร็จของออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ทำให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคามของฮอลันดา
ผลงานสำคัญ
- เป็นหัวหน้าคณะทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส
- ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสให้มีความใกล้ชิด ทำให้อยุธยาสามารถดึงฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาได้ในสมัยพระเพทราชาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง มีหน้าที่ควบคุมราชการด้านการต่างประเทศด้วย
-เป็นขุนนางที่สร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้ชาติบ้านเมืองในสมัยอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงส์วโรปการ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (องค์ต้นราชสกุล “เทวกุล”) ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 42 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นลำดับที่ 2 ในสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2428 ขณะพระชันษา 27 ปี ถึง วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศที่อายุน้อยที่สุด และอยู่ในตำแหน่งยาวนานถึง 38 ปี 16 วัน และในช่วงที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี คุณูปการที่สำคัญยิ่งของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการคือการการรักษาอธิปไตยของไทย ทรงจัดทำสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศส และทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอื่นๆ อาทิ รัสเซีย เยอรมนี
ทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภารกิจด้านการต่างประเทศหลายประการ อาทิ ทรงจัดและปรับปรุงรูปแบบกรมกองให้ทันสมัย ทรงขอพระราชทานที่ทำการ เพื่อให้เป็น “ศาลาว่าการต่างประเทศ” ซึ่งนับว่าเป็นกระทรวงแรกที่มีศาลาว่าการกระทรวงเป็นที่ทำการแทนการใช้บ้านเสนาบดีเป็นที่ทำการ ทรงเปิดสำนักงานผู้แทนทางการทูตของไทยในต่างประเทศ เช่น สถานทูตไทย ณ สำนักเซนต์ เจมส์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน
นอกจากการปรับปรุงวิธีการทำงานและการบริหารราชการแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา เทวะวงศ์วโรปการทรงเอาพระทัยใส่ในคุณภาพของบุคลากร ทรงส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศอย่างจริงจัง โดยทรงจัดตั้งแผนกสอนภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการ เสมียนและพนักงาน ทรงวางระเบียบวิธีเขียนหนังสือราชการ อีกทั้งทรงคัดเลือกนักเรียนส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศอีกด้วย
ทรงมีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน อาทิ ภาษาไทย ภาษามคธ ภาษาอังกฤษ และวิชาเลข นอกจากนี้ ยังทรงมีความสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์และสมุนไพร ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินตาม สุริยคติ นับวันและเดือนแบบสากล เรียกว่า “เทวะประติทิน” ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินในปัจจุบัน พร้อมทั้งทรงเป็นผู้คิดชื่อเดือน มีการแบ่งชื่อเรียกเดือนที่มี 30 วัน และ 31 วันชัดเจนด้วยการใช้คำนำหน้าจากชื่อราศี สมาสกับคำว่า “อาคม” และ “อายน” ที่แปลว่า การมาถึง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2466 รวมพระชนมายุได้ 64 ปี และในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2466
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
➡ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ มีความรอบรู้ มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน
การศึกษา
ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ จึง ปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน เป็นต้น
การปกครอง
ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘ ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่ โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า ระบบกินเมือง ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร เช่น กรมตำรวจ กรมป่าไม้ กรมพยาบาล เป็นต้น ตลอด เวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย
งานพระนิพนธ์
ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้ ได้แก่ หอสมุดสำหรับพระนคร และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้
สมเด็จพระสุริโยไท
➡ สมเด็จพระสุริโยไท หรือ พระสุริโยไท วีรสรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีใน สมเด็จพระหาจักรพรรดิหรือพระเฑียรราชา พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยไท ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามี ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๑ พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยไท เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้
พระราชประวัติ
➡ พระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยไทยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยไท ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)
วีรกรรม
➡ ความเป็นมาของสงครามระหว่างไทยกับพม่าในครั้งนั้น มีเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากพระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ได้รู้ข่าวกรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุวุ่นวาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระแก้วฟ้า พระราชโอรส และขุนวรวงศาธิราช และอัญเชิญพระราชอนุชาต่างพระชนนีในสมเด็จพระไชยราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่า “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” เมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงหงสาวดียกมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกออกไป กองทัพฝ่ายกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีสมเด็จพระสุริโยไท พระอัครมเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จมาในทัพด้วยนี้ ได้ปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้ากรุงหงสาวดี ได้ทรงเข้าชนช้างกัน ความในพงศาวดารไทยรบพม่าพรรณนาไว้ว่า
“...ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที สมเด็จพระสุริโยไทเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางช้างข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยไท ด้วยสำคัญว่าเป็นชายสิ้นพระชนม์ซบลงกับคอช้าง…”
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
➡ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย พระองค์จึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีและราชวงศ์พระร่วง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอยุธยา
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
1. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง พ.ศ. ๑๙๙๔ พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือราชธานี จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง เพื่อ ป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย มีการแยกฝ่ายทหารและพลเรือนโดยใช้ขุนนางตำแหน่งสมุหพระกลาโหมดูแลกิจการฝ่าย ทหาร สมุหนายกดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์ นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ได้แก่ พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง พ.ศ. ๑๙๙๘ เพื่อประโยชน์ในการลำดับชั้นของบุคคลว่ามีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจหน้าที่ต่างกันอย่างไร เป็น การจัดระเบียบการปกครองให้มีแบบแผนรัดกุมกว่าเดิมในรัชสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ อยุธยาทำสงครามยืดเยื้อกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐) ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับที่เมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ ปี เพื่อดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเพื่อความสะดวกในการป้องกันการรุกรานของล้านนา ในระยะนี้จึงถือว่าเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031 ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)
➡ พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชา ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระราชนัดดา(หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่ไม่ทราบปีสิ้นสุดรัชสมัยที่แน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๑๙๖๖ พระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นแบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของ พระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติพระองค์ชักนำชนทั้งหลายให้พ้นทุกข์ หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าพระองค์มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี ได้แก่ วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง วรรณคดี ชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรี สัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัว นำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
- การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป
- พญา ลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักใน รัชสมัยนี้
- ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก
- ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดัง กล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา คือ พระมหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์ พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปีพ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
➡ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระอัครมเหสี ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕ เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การกีฬา การล่าสัตว์ การขี่มา ขี่ช้าง และการแข่งเรือ พระองค์มีแม่นม ๒ คน คอยดูแลอภิบาล คือ เจ้าแม่วัดดุสิตซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตผู้มีชื่อเสียง แม่นมอีกคนหนึ่ง เป็นมารดาของพระเพทราชา พ.ศ. 2198 พระเจ้าปราสาททองประชวรหนักจึงทรงมอบราชสมบัติให้เจ้าฟ้าชัย พระโอรสองค์โต ซึ่งประสูติจากพระสนม เจ้าฟ้าชัยครองราชย์ได้ประมาณหนึ่งปี ก็ถูกปลงพระชนม์โดยพระศรีสุธรรมราชา พระเจ้าอา พระอนุชา จากนั้นพระศรีสุธรรมราชาก็ขึ้นครองราชย์ และแต่งตั้งให้พระนารายณ์เป็นพระมหาอุปราชวังหน้า หลังจากนั้นประมาณ ๒ เดือนพระนารายณ์ก็ได้ปลงพระชนม์สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา เนื่องจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาคิดจะเอาเจ้าฟ้าหญิงศรีสุวรรณหรือพระกนิษฐภคินีร่วมพระชนนีของพระนารายณ์มาเป็นพระชายา หลัง จากนั้นพระนารายณ์ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครอง ราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๔ ของพระราชวงศ์ปราสาททอง ใน พ.ศ. ๒๑๙๙ ขณะพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ แต่คนทั่วไปนิยมเรียก สมเด็จพระนารายณ์ กรุงศรีอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความเจริญรุ่งเรืองมาก
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
- การลดส่วยและงดเก็บภาษีอากรจากราษฎรเป็นเวลา ๓ ปีเศษ
- การประกาศใช้กฎหมายพระราชกำหนดและกฎหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง
- การส่งเสริมงานด้านวรรณกรรม หนังสือที่แต่งในสมัยนี้ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ โคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลี-สอนน้อง โคลงราชสวัสดิ์ เพลงพยากรณ์กรุงเก่า เพลงยาวบางบท รวมถึง
วรรณกรรมชิ้นสำคัญ คือ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ นับเป็น ยุคทองแห่งวรรณกรรม ของไทยยุคหนึ่ง
- การทำศึกสงครามกับเชียงใหม่และพม่า พ.ศ.๒๒๐๓ และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ลงมาอยุธยาด้วย
- ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศนั้น เจริญรุ่งเรืองมาทั้งประเทศตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และประเทศตะวันตกที่สำคัญ ได้แก่ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ทั้งด้านการเชื่อมสัมพันธไมตรีและการป้องกันการคุกคามจากชาติต่างๆ เหล่านี้จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ดังกล่าว จึงทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง อีกทั้งในรัชสมัยของพระองค์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรมยุคหนึ่งด้วย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๓๑ ที่เมืองลพบุรี ราชธานีแห่งที่สองที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช)
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
➡ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๓๔ ถึง พ.ศ. ๒๐๗๒
➡ ใน พ.ศ. ๒๐๕๔ โปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ไทยจึงเริ่มเรียนรู้ศิลปวิทยาของชาวตะวันตกโดยเฉพาะด้านการทหาร ทำให้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัย-สงครามของไทยได้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ทรงให้ทำสารบัญชี คือ การตรวจสอบจัดทำบัญชีไพร่พลทั้งราชอาณาจักร นับเป็นการสำรวจสำมะโนครัวครั้งแรก โดยทรงตั้งกรมสุรัสวดีให้มีหน้าที่สำรวจและคุมบัญชีไพร่พล
ทางด้านศาสนา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ไว้ในเขตพระราชฐานและให้หล่อ พระศรีสรรเพชญ์ สูง 8 วา หุ้มทองคำ ไว้ในพระมหาวิหารของวัดด้วย ในรัชสมัยนี้อยุธยาและล้านนายังเป็นคู่สงครามกันเช่นเดิมเนื่องจากกษัตริย์ล้านนา คือ พระเมืองแก้ว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) พยายามขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ จนถึง พ.ศ. ๒๐๖๕ มีการตกลงเป็นไมตรีกัน สงครามจึงสิ้นสุดลง