วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

"การพจญภัย ใจกลางเมืองดอกบัว"

"การพจญภัย ใจกลางเมืองดอกบัว"




ท่องเที่ยววิถี หล่อ,ออ https://www.youtube.com/watch?v=rUIFt8wfjzw&t=70s

ขอพาท่านมาสักการะศาลหลักเมืองอุบลราชธานีครับ ศาลหลักเมืองนี้ ตั้งอยู่ บนถนนศรีณรงค์ ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง และอยู่ทางทิศเหนือของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2515 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2519          มาถึงตรงนี้ ท่านอาจนึกสงสัยในใจใช่มั๊ยครับ เมื่อตอนแรกไกด์อุบลได้รับใช้ท่าน เล่าเรื่องประวัติเมืองอุบลมาว่า เมืองอุบลมีประวัติความเป็นมามากกว่า 200 ปีแล้ว แต่ทำไมพึ่งจะตั้งศาลหลักเมืองเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง แล้วศาลหลักเมืองดั้งเดิมของเมืองอุบลอยู่ไหน และที่สำคัญ... ท่านที่เคยดูละครเรื่องเจ้ากรรมนายเวรแล้ว เห็นว่ามีการจับคนเป็นๆ ใส่ลงไปในหลุมที่จะตั้งเสาหลักเมือง เพื่อจะได้ปกปักรักษาเมือง อย่างนี้ การสร้างเสาหลักเมืองอุบล มีด้วยหรือไม่ ใครหรือชื่ออะไร ที่ถูกจับลงไปในหลุม ตามผมมาครับ ไกด์อุบลจะรับใช้ท่าน เล่าเรื่องการสร้างศาลหลักเมืองเดี๋ยวนี้เลยครับ

          แต่เดิมนับตั้งแต่สร้างเมืองอุบลราชธานีมา ยังไม่มีการตั้งศาลหลักเมืองครับ จนมาถึงสมัยพลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น ได้มีโอกาสกราบนมัสการเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร ในฐานะที่สมเด็จท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ใหญ่ชาวอุบล ซึ่งเป็นที่เคารพโดยทั่วไป เพื่อปรึกษาหารือว่า "จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดใหญ่หัวเมืองเอกมาตั้งแต่อดีตกาล มีชื่อ "ราชธานี" เพียงแห่งเดียว มีความเจริญรุ่งเรืองมานาน แต่ยังไม่มีการยกเสาหลักเมืองให้เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาราษฎร สำหรับยึดถือเป็นหลักชัยทางจิตใจ ให้มีความมั่นคง เชื่อในหลักบ้านหลักเมือง เป็นการผดุงกำลังใจให้แน่วแน่ในการดำรงชีพ โดยอานุภาพของหลักเมือง จะเป็นหลักชัยให้ประชาราษฎรในบ้านเมืองอุบลฯ อยู่เย็นเป็นสุข รุ่งเรืองสถาพรตลอดกาล จึงเห็นสมควรสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ณ ที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ กลางเมืองอุบลราชธานี"          เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พิจารณาแล้วก็ไม่ขัดข้อง แต่อยากให้สอบถามชาวอุบลส่วนใหญ่ก่อน เนื่องจากไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกันในภายหลัง ต่อมาเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ พร้อมแล้ว จึงเลือกตำแหน่งที่ตั้งเสาหลักเมือง อยู่ที่ด้านทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง และด้านทิศเหนือของศาลากลางจังหวัด (ปัจจุบันเป็นพิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี) กำหนดวันวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง วันที่ 27 สิงหาคม 2515 โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และเป็นเดินทางมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ด้วย ส่วนเสาหลักเมืองนั้น กรมศิลปากร ได้ออกแบบเป็นยอดบัวตูม โดยใช้ไม้ราชพฤกษ์ เมื่อการก่อสร้างศาลหลักเมืองอุบลราชธานีเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิด ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2519 ครับ          ท่านอาจคิดสงสัยในใจเรื่องเอาใครใส่ลงไปในหลุมเฝ้าเมืองใช่มั๊ยครับ เนื่องจากเป็นการตั้งเสาหลักเมืองสมัยใหม่ครับ คงทำอย่างนั้นไม่ได้แน่ แต่ก็มีการอัญเชิญวิญญาณ "เสด็จเจ้าหอคำ" ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือตาทวดของเจ้าคำผง เข้าสิงสถิตย์หลักเมืองอุบลครับ แต่พิธีนี้ก็พึ่งจะทำเมื่อปี 2531 สมัยเรือตรีดนัย เกตุสิริ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีนี่เองครับ ต่อจากนั้น ทุกวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 7 ของทุกปี (เดือน 7 เป็นเดือนทำบุญซำฮะ หรือบุญบูชาบรรพบุรุษในฮีตสิบสอง) เทศบาลเมืองอุบลราชธานีร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง เป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน          ทุกวันนี้ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เป็นที่สักการะบูชาเป็นมิ่งขวัญของชาวอุบลราชธานี และผู้มาเยี่ยมเยือนเมืองอุบลเสมอมา นับเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่ไกด์อุบลอยากเชิญชวนท่านมาเที่ยวชม และสักการะบูชา เมื่อมาเยือนจังหวัดอุบลราชธานีครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เเหล่งชุมชนพึ่งพาตนเองทางเศรฐกิจ

บ้านยางแดง ตำบล คู้ยายหมี อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ความเป็นมา                บ้านยางแดง ต. คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ. ฉะ...